วงจรตรรกะดิจิตอล (Digital Logic Circuits)

                ในปลายปี ค.ศ. คลอด์แซนนอน (Claude Shannon) นักศึกษาปริญญาโทของ MIT (Massachusetts Institute of Technology) ได้สังเกตพบว่าวงจรสวิตซ์ของวงจรโทรศัพท์และการเชื่อมตรรกมีลักษณะคล้ายกัน จึงได้ออกแบบวงจรเขียนผลลัพธ์ที่ได้ในวิทยานิพนธ์ของเขาซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1938 การศึกษาของเขามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการมาประยุกต์ในการออกแบบวงจรตรรกะดิจิตอล ซึ่งมีประโยชน์มหาศาลในการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์

ความสัมพันธ์ของสวิตซ์และนิพจน์ตรรก (The Relation of Switches and Logic Expression)

                จากรูปแสดงสถานะของสวิตซ์อย่างง่าย 2 สถานะ คือสถานะเปิด (open) และ สถานะปิด (closed)

เมื่อกระแสไฟฟ้าสามารถไหลไปยังด้านหนึ่งได้ และเมื่อสวิตน์เปิด กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้ หลอดไฟจะติด (on) ก็ต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดไฟ หลอดไฟจะดับ(off) ก็ต่อเมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ นั่นคือ สวิตซ์หรือสะพานไฟเปิด

 

การต่อสวิตซ์แบบอนุกรม หารไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า และทำให้หลอดไฟติด (on) ก็ต่อเมื่อสวิตซ์ p และ q ปิด (closed) ความเป็นไปได้ในทุกกรณีของการเปิด และปิดสวิตซ์ ที่สัมพันธ์กับการติดและดับของหลอดไฟ สามารถแสดงได้ดังตาราง เช่น กรณีหนึ่งสวิตซ์ p และสวิตซ์ q ปิดทั้งคู่ ดังนั้นกระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ สถานะของหลอดไฟจะติด (มีความสว่าง) ในกรณีที่สอง สวิตซ์ p ปิแต่สวิตซ์ q  เปิด กระแสไฟฟ้าก็ไม่สามารถไหลผ่านได้ สถานะไฟก็จะดับ (ไม่มีแสงสว่าง)


สวิตซ์ 

หลอดไฟ 

P

Q

สถานะ

ปิด 

ปิด 

ติด 

ปิด 

เปิด 

ดับ 

เปิด 

ปิด 

ดับ 

เปิด 

เปิด 

ดับ 

การต่อสวิตซ์แบบอนุกรม

                ถ้าสถานะของสวิตซ์ปิด (closed) และสถานะของหลอดไฟติด (on) แทนค่าตจิง (T) ด้วย 1 สถานะของสวิตซ์เปิด (open) และสถานะของหลอดไฟดับ (off) แทนค่าเท็จ (F) แทนค่า 0

                หากแทนค่าเบื้องต้นด้วยตารางค่าความจริง ผลลัพธ์การติดและดับของหลอดไฟ จะสัมพันธ์กับตรรกะการเชื่อมประพจน์ p ^ q


 

Home  กลับก่อนหน้านี้      หน้าถัดไป


Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  6,898
Today:  2
PageView/Month:  16

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com